วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555


 

  เทคนิคการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



      เทคนิคการใช้สื่อการสอนเป็นกลวิธีในการใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อการสอนเป็นตัวกลางนำความรู้จากครูไปสู่เด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นสื่อของจริงเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสคือ การมอง การฟัง การสัมผัส การดมกลิ่นและการชิมรส สื่อเป็นสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น จากการฟังคนพูดและขณะทำกิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆ เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาได้ยินและแสดงออกด้วยความตั้งใจในสิ่งที่เขาทำได้ อายุ 3 – 4 ปี สามารถเรียนรู้ความซับซ้อนของประโยคได้ เรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่เขาได้ยิน สามารถสร้างประโยคขึ้นใหม่ในการสื่อสารมากกว่าการเรียนแบบ มีคำศัพท์ที่ใช้ในการพูดมากกว่า 1000 คำ เรียนรู้คำและความหมายโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและสิ่งของหรือพฤติกรรม เช่น เด็กเรียนรู้คำว่า ตุ๊กตา เมื่อแม่ยื่นตุ๊กตาให้แล้วบอกว่า ตุ๊กตา ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงกับสิ่งของ การเรียนรู้จะง่ายขึ้นถ้าเด็กมีประสบการณ์เดิมมาก่อน ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของของการแสดงความคิด
การฝึกทักษาทางภาษาประกอบด้วยการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ของเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นการสื่อสารอย่างมีความหมายโดยใช้ภาษาในสถานการณ์จริง
เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็ก 
ถ้าต้องการให้เด็กเป็นผู้ฟัง ครูหรือผู้ปกครองควรฟังเด็กพูด เมื่อเด็กเล่าประสบการณ์หรือแสดงความคิดเห็นจบ ครูควรกล่าวชม เช่น ความคิดของหนูดีมาก แหมเล่าเรื่องได้ดีจริง การเสริมแรงเช่นนี้จะทำให้เด็กมีกำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจและอยากที่จะเสนอความคิดของตนอีกในชั้นเรียนปฐมวัยมีหลายกิจกรรมที่ฝึกเด็กให้รู้จักฟังเช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การเล่านิทาน นอกจากนี้ยังเป็นการฟังที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เทคนิคการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็กมีดังนี้

  • โคลงกลอน ร้อยแก้ว
  • เพลง เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงตามสมัยนิยม
  • เสียงจากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงจากในครัว จากสนามเด็กเล่น นาฬิกา โทรศัพท์และจากยานพาหนะ เป็นต้น
  • เสียงการใช้วัตถุโยนลงพื้นแข็งๆ หรือพื้นที่นุ่มๆ วัตถุที่ใช้โยนอาจเป็นหมอน บล็อก ก้อนหิน ผ้าพันคอ ตะปู โยนถุงที่บรรจุของ ต่อไปให้เด็กหลับตาทายว่าครูโยนอะไร
  • ฟังจังหวะ เช่น เสียงเครื่องดนตรีเคาะจังหวะเร็วช้า เสียงการเต้นของหัวใจเพื่อน เสียงนาฬิกา
  • ฟังเสียงจากขวดบรรจุน้ำ
  • ฟังคำสั่ง ถ้าอายุประมาณ 3 ขวบควรเป็นคำสั่งสั้นๆ อายุมากขึ้นควรฝึกฟังเป็นประโยค หรือ ฟังคำสั่งซ้อนกัน2-3คำสั่ง
  • ฟังคำถาม
  • ฟังโดยมีกติกาจากการเล่นเกม
  • ทายเสียงจากการฟังเครื่องบันทึกเสียง
  • ฟังนิทาน เช่นนิทานที่มีคำซ้ำ ฟังจนจบเรื่องแล้วจับใจความ เป็นต้น การอ่านหนังสือหรือนิทานให้เด็กฟัง สามารถใช้เป็นวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนได้ถ้าหนังสือนั้นให้ข้อมูลที่เป็นจริงและมีภาพประกอบที่น่าสนใจจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจขึ้นได้แต่ครูต้องมั่นใจว่าเด็กเข้าใจคำศัพท์และความหมายในเรื่องนั้นๆ
  • ฯลฯ


โทรทัศน์ครู เรื่องสื่อเด็กเล็กกับ ดร.จันทน์ชัย




บทความเรื่อง 8 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวั

     การสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กให้เป็นเรื่องสนุกพร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ภาษานั้น ต้องทำกิจกรรมให้
เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของเด็ก และต้องไม่ยากเกินความสามารถที่เขาจะทำเองได้ แต่ก็ต้องมีผู้ใหญ่คอย
ช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ ที่สำคัญกิจกรรมต้องมีหลากหลาย เพื่อตอบสนองความแตกต่างของเด็ก ๆ

1. เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning Message)
ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้สนทนากันตอนเช้าระหว่างคุณครูกับเด็ก และระหว่างกับเด็กด้วยกัน เพราะ
โดยธรรมชาติของเด็ก ๆ แล้ว มีเรื่องมากมายที่อยากจะเล่าให้คุณครูฟัง ดังนั้นเวลาในช่วงเช้าก่อนเริ่มต้นกิจกรรม
อื่น ๆ เปิดเวทีสำหรับการพูดคุย โดยอาจจะเป็นหัวข้อใกล้ตัว เช่น ของที่เด็กๆ นำมา วันพิเศษ เหตุการณ์พิเศษใน
โรงเรียน เทศกาลต่างๆ หรือครูอาจจะกำหนดหัวข้อล่วงหน้ากับเด็ก ๆ ไว้ก่อน เพราะเขาจะได้มีเวลาหาข้อมูล
อาจจะถามผู้ปกครอง หรือทดลองทำดู เพราะเวลาที่เด็ก ๆ เล่าเรื่องเขาจะกลายเป็นศาสตราจารย์ตัวน้อย
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องที่ตัวเองพูด
เด็ก ๆ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน ฝึกการใช้ภาษาหาข้อมูล
และที่สำคัญการสนทนาทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้การใช้ภาษาที่ถูกต้องจากคุณครูด้วย และควรสอนมารยาทในการเป็น
ผู้ฟังและผู้พูดที่ดีให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายด้วย

2. อยากจะอ่านดังดัง (Reading Aloud)
คุณครูเลือกหนังสือภาพสำหรับเด็กดี ๆ ที่เด็ก ๆ สนใจสักเล่ม แล้วจัดเวลาสำหรับการอ่านออกเสียงให้
เด็ก ๆ เป็นประจำ เพราะช่วงเวลานี้เด็ก ๆ จะมีความสุขและรู้สึกดีต่อการอ่าน รวมทั้งกับตัวครูด้วยจัดเด็กเป็น
กลุ่มเล็ก ๆ โดยก่อนที่จะอ่านเนื้อเรื่อง คุณครูควรแนะนำให้เด็ก ๆ รู้จักชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ
และควรชี้นิ้วตามไปด้วยเวลาอ่าน หรืออาจจะถามคำถามให้เด็ก ๆ คิด หรือเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า
หลังจากเล่านิทานจบแล้ว คุณครูควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวกับนิทานเรื่องที่เล่า เพื่อให้เด็ก ๆ
ได้ทบทวนเนื้อเรื่อง และได้ทำกิจกรรมตามความสนใจ เช่นเตรียมภาพให้เด็กเรียงลำดับเรื่องราว หรือเตรียม
สิ่งของที่มีอยู่ในนิทานเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เล่น ในกิจกรรมนี้เด็ก ๆ จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ และสามารถ
คาดคะเนได้อีกด้วย

3. หนูเล่าอีกครั้ง (Story Retelling)
หลังจากที่นิทานเรื่องสนุกจบลงอย่างมีความสุข ลองให้เด็ก ๆ ได้เล่านิทานกลับมาให้คุณครูและเพื่อน ๆ
ฟัง บ้าง แต่ก่อนที่จะให้เด็กเล่าคุณครูต้องใช้คำถามกระตุ้นให้เด็ก ๆ จับใจความสำคัญ และเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ
ก่อน หรือเวลาที่ครูเล่าอาจจะถามคำถามให้เด็ก ๆ ได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ตนเอง ถามคำถามให้เด็ก ๆ เดา
เรื่องล่วงหน้า ตีความ และพอเล่าจบก็ทบทวนเนื้อเรื่องอีกครั้งด้วยการทำแผนผังนิทาน กล่องนิทาน ภาพตัดต่อ
นิทาน เป็นต้น เด็ก ๆ จะเกิดแรงจูงใจในการเรียนและได้ลงมือทำในเรื่องที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

4. อ่านด้วยกันนะ (Shared Reading)
หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ Big Book จะเนรมิตความมหัศจรรย์ทางภาษาสำหรับเด็ก ๆ เพียงแค่คุณครู
ชวนเด็ก ๆ พูดคุยเรื่องที่จะนำมาเล่า เพื่อให้เจ้าตัวเล็กสนใจ และมีความรู้พื้นฐานก่อนฟัง จากนั้นจึงอ่านหนังสือให้
เด็ก ๆ ฟังทั้งเรื่อง ชี้คำไปด้วย เพื่อให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความ เมื่อเด็ก ๆ เริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิด
ข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็ก ๆ ทาย หรือทำบัตรคำให้เด็ก ๆ ไปหาคำนี้ในหนังสือก็ได้
เด็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าคำและข้อความไม่ใช่รูปภาพ และหลังจากอ่านจบก็ทำกิจกรรมสื่อภาษากันใน
ห้องเช่น ทำหนังสือนิทาน แสดงละคร หรือเกมภาษาเช่น หาชื่อตัวละคร การพูดตามเครื่องหมายวรรคตอน เป็น
ต้น

5. อ่านตามใจหนู (Independent Reading)
นอกจากหนังสือนิทานภาพสวย ๆ แล้ว ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถให้เด็ก ๆ ได้อ่านอีกมากมาย เช่น ป้าย
ข้อตกลงในห้อง ปฏิทิน รายการอาหาร คำขวัญ คำคล้องจอง ชื่อต้นไม้ ป้ายวันเกิดเพื่อน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เด็ก ๆ
ก็สนใจที่อยากจะอ่านเหมือนกัน และคุณครูควรทำบันทึกการอ่านของเด็ก โดยให้เล่าเรื่องที่ตนเองอ่านให้เพื่อน ๆ
และคุณครูฟัง คุณครูก็ช่วยเขียนลงสมุดบันทึกและให้เด็ก ๆ เขียนสิ่งที่ตนเองอ่านไปด้วย

6. หนูอยากอ่านเอง (Sustained Silent Reading)
คราวนี้แหละที่เจ้าตัวยุ่งทั้งหลายจะนิ่งทันที เพราะเราจะให้เขาได้เลือกอ่านตามใจชอบ จะหยิบอะไร จะ
อ่านอะไรไม่ว่ากัน และที่สำคัญอ่านเสร็จแล้วไม่ต้องให้เด็ก ๆ ทำงานนะ เพราะเขาจะได้เกิดความรู้สึกอยากอ่าน
อย่างเต็มที่ เวลาอ่านเด็ก ๆ อาจจะพึมพำไปบ้าง พูดบ้าง ก็ปล่อยพวกเขาตามสบาย แต่คุณครูต้องเลือกหนังสือ
มาอ่านให้เป็นตัวอย่างของเด็ก ๆ ด้วยนะ

7. เขียนด้วยกันนะ (Shared Writing)
คราวนี้คุณครูมาชวนเด็ก ๆ เขียนด้วยการพูดคุยกันเรื่องในชีวิตประจำวัน ครูต้องเป็นผู้เริ่มเขียนโดยให้
เด็ก ๆ บอกสิ่งที่ต้องการเขียนเป็นข้อความสั้น ๆ เหมาะที่จะเขียน เด็ก ๆ จะเห็นวิธีการเปลี่ยนความคิดมาเป็น
ข้อความ เห็นลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม และควรให้เด็ก ๆ บอกให้ครูเขียนเป็นระยะ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็ก ๆ เกิด
ทัศนคติที่ดีต่อการเขียน รู้จักตัดสินใจแสดงความคิดเป็นตัวอักษร
คุณครูอาจจะเขียน แบบสำรวจเด็กมาโรงเรียน กิจกรรมประกาศข่าว เมื่อช่วยกันเขียนเสร็จแล้ว ครู
ควรอ่านให้เด็กฟังอีกครั้ง กิจกรรมนี้คุณครูควรเป็นคนเขียนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ วิจารณ์เพื่อน ๆ

8. หนูอยากเขียนเอง (Independent Writing)
เด็ก ๆ จะได้ลงมือเขียนเองสักที โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจโดยให้
พวกเขาทำกิจกรรมและเขียนถ่ายทอดผลงานความคิดออกมา เช่นผลงานต่อบล็อก การบันทึกชื่อนิทานที่อ่าน
หรือเขียนประกอบบทบาทสมมติ ที่คุณหมอเขียนใบสั่งยา บริกรเขียนรายการอาหาร หรือคุณครูอาจจะเตรียม
กิจกรรมให้สอดคล้องกับบทเรียน โดยใช้เนื้อหาการเรียนมาบูรณาการกับการเขียน เช่น เขียนชื่อผลงานการ พิมพ์
ภาพอวัยวะต่างๆ ในหน่วยร่างกายของเรา

นอกจากกิจกรรมทั้ง 8 วิธีแล้ว การที่คุณครูจัดห้องเรียนให้ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษา ก็จะช่วยคุณครูได้
อีกมากทีเดียว ลองดูสิว่าในห้องคุณครูมีครบ 4 หัวข้อนี้ไหม



1.วรรณกรรมสำหรับเด็ก ต้องมีหลายประเภททั้งนิทาน
ชาดก นิทานอธิบายเหตุการณ์ นิทานพื้นบ้าน ตำนาน
เทพนิยาย เรื่องราวประวัติศาสตร์ ชีวประวัติบุคคล
หนังสือคำกลอน ที่สำคัญหนังสือภาพที่ไม่มีตัวอักษร

2. ของที่ใช้อ้างอิงได้ เป็นต้นว่า สารานุกรมภาพสำหรับเด็ก
พจนานุกรมเล่มเล็ก แผนที่ บัญชีคำศัพท์

3.นิตยสารสำหรับเด็ก เพราะให้ข้อมูลที่
ทันสมัย ฉับไวต่อเหตุการณ์ ใน
เมืองไทยอาจจะยังมีน้อยหรือแฝงอยู่กับ
นิตยสารผู้หญิง คุณครูสามารถเลือกตัด
มาเป็นตอน ๆ ให้เด็ก ๆ ก็ได้

4. เครื่องเขียนนานา ทั้งกระดาษมากมาย
หลายแบบ หลายสี หลายขนาด ดินสอ
ปากกา ตรายาง สีไม้ สีเทียน สีน้ำ เรียกว่า
นึกอะไรออกเตรียมไว้ให้เด็ก ๆ ได้หยิบมา
ใช้งานสะดวก ๆ ด้วยตนเองได้ด้วย

เพียงเท่านี้เด็ก ๆ ทั้งหลายก็จะกลายเป็นเด็กมหัศจรรย์ เพราะได้เรียนรู้ภาษาอย่างสร้างสรรค์
เหมาะสมกับวัย และความสนใจของเขา ในโลกแห่งการเรียนรู้ปัจจุบันอย่างแท้จริง


    วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2203

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



ไม่มีการเรียนการสอน เพราะ เข้าอบรมเกี่ยวกับอาเซียน
โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน
ผอ. ราตรี ศรีไพรวรรณ  โรงเรียนพระยประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)  
 เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

คำขวัญของอาเซียน คือ One Vision One ldentity One Community 
 หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม
ตราสัญลักษณ์ของอาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกัน

                                                                       

     ผู้ขับร้องเพลงอาเซียน



เนื้อร้อง ภาษาไทยพลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล


เนื้อร้อง ภาษาอังกฤษRaise our flag high, sky highEmbrace the pride in our heartASEAN we are bonded as oneLook-in out-ward to the world.For peace, our goal from the very startAnd prosperity to last.WE dare to dream we care to share.Together for ASEANWe dare to dream,We care to share for it's the way of ASEAN.



วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555


วันศุกร์ที่ 28  กันยายน พ.ศ 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2203

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



    อาจารย์ให้แสดงความคิดเห็นที่รัฐบาลแจก "แท็ปเล็ท" ให้เด็กประถม1 ใช้ ว่าจะเขียนออกมาในรูป

แบบไหนที่ทำให้เข้าใจง่ายๆ  


หัวข้อ 
1. ข้อดี          
2. ข้อเสีย          
3. ผลกระทบ          
4. การนำไปใช้         

และได้พูดถึงการใช้ภาษาในการเขียนใบประเมิการประเมินผลการเรียนนและการเขียนข้อความลงในบล็อกแล้วอาจารย์ก็ให้เคลียงานที่ค้างไว้ แล้วอาจารย์ก็สรุปแล้วปิดคลอด์เรียน

วันศุกร์ที่27 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
เวลา 08.30-12.20น

    งานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS
เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
โดย ภัทรดรา พันธุ์สีดา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ




                วันศุกร์ที่  21  กันยายน  2555
                        วิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ฏปฐมวัย   EAED 2203
                     เวลา  8.30-12.20  น.


วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องการสรุปดนื้อหาในBlog ต้องทำให้น่าสนใจตื่นเต้นมีลูกเล่นมากกว่านี้และต้องไม่ลอกกันแล้วหาความรู้เพิ่มเติมมาใส่Blogและต้องทำBlogให้เป็นปัจุจันที่สุดไม่งั้นคะแนนจะหายไปและอาจารย์ได้แนะนำวิธีการทำBlogเพิมเติม แล้วก้อได้เปิดBlogของเพื่อนๆให้ดูเป็นตัวอย่างและได้พูดถึงโทรทัศน์ครูเกียวกับภาษาว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วลิงค์ใส่หน้า Blog